Responsive image
เมนูหลัก
หน้าหลัก
เกี่ยวกับตำบล
ประวัติความเป็นมา
สภาพทั่วไป
สภาพสังคม
สภาพทางเศรษฐกิจ
การบริการพื้นฐาน
สินค้า OTOP
สถานที่สำคัญ/แหล่งท่องเที่ยว
เกี่ยวกับเรา
วิสัยทัศน์/พันธกิจ
ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
โครงสร้างส่วนราชการ
อำนาจหน้าที่
บุคลากร
ผู้บริหาร
สภาชิกสภา
สำนักปลัด
กองคลัง
กองช่าง
ตรวจสอบภายใน
ITA
ITA ปี พ.ศ. 2565
ตรวจสอบภายใน
อำนาจหน้าที่งานตรวจสอบภายใน
แผนการตรวจสอบภายใน
ข้อมูลข่าวสาร
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวรับสมัครโอน/ย้าย
แนะนำการชำระภาษี
ฐานข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open Data)
แผนพัฒนาท้องถิ่น
แผนพัฒนาสามปี
แผนพัฒนาท้องถิ่น
ข้อบัญญัติงบประมาณ
รายรับ-รายจ่าย
แผนการจัดซื้อจัดจ้างหรือแผนการจัดหาพัสดุ
การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
แผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
รายงานการประชุมสภาท้องถิ่น
แผนอัตรากำลัง 3 ปี
การป้องกันการทุจริต
แผนการจัดซื้อจัดจ้างหรือแผนการจัดหาพัสดุ
แผนการจัดซื้อจัดจ้างหรือแผนการจัดหาพัสดุ
รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุประจำปี
สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุรายเดือน
แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
รายงานการกำกับติดตามการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีรอบ 6 เดือน
รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
แผนป้องกันการทุจริต
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
รายงานผลการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี
รายงานการกำกับติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
แผนการดำเนินงานประจำปี
รายงานผลการดำเนินงานประจำปี
แผนการดำเนินงานประจำปี
รายงานการกำกับติดตามการดำเนินงานประจำปี
ระเบียบ
หนังสือสั่งการ สถ.
พรบ./พรก.
กฎระเบียบกระทรวง
คำสั่ง สถ.
มติ ก. อบจ.
มติ ก. เทศบาล
มติ ก. อบต.
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
รายรับรายจ่าย
รายงานการประชุม
เว็บบอร์ด
กระดานถาม-ตอบ (Q&A)
พูดคุยเรื่องทั่วไป
ข้อเสนอแนะ ติชม
รับเรื่องราวร้องทุกข์
เว็บบอร์ดเครือข่าย
ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
รายงานข้อมูลสถิติการให้บริการประชาชน
รายงานผลการแจ้งความคืบหน้าของข้อร้องเรียน/ร้องทุกข์
ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจของประชาชนที่มารับบริการ
บริการประชาชน
คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการประชาชน
แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
E-Service
อุทาหรณ์จากคดีปกครอง
ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
ติดต่อเรา
ติดต่อเรา
แผนที่ดาวเทียม
คู่มือหรือแนวทางการปฏับัติงานของเจ้าหน้าที่









หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

อำนาจหน้าที่

อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะผู้บริหาร
อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะผู้บริหาร

1. ก่อนเข้ารับหน้าที่ นายก อบต. ต้องแถลงนโยบายต่อสภา อบต. โดยไม่มีการลงมติ หากไม่สามารถดำเนินการได้ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งต่อสมาชิกสภา อบต. ทุกคน และจัดทำรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อสภา อบต. เป็นประจำทุกปี (มาตรา 58/5)
2. มีอำนาจหน้าที่ ตามมาตรา 59 ดังนี้
(1)   กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย และรับผิดชอบในการบริหารราชการของ อบต.ให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนา อบต. ข้อบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ
(2)    สั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการของ อบต.
(3)    แต่งตั้งและถอดถอนรองนายก อบต. และเลขานุการนายก อบต.
(4)    วางระเบียบเพื่อให้งานของ อบต. เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
(5)    รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติ อบต.
(6)    ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และกฎหมายอื่น
3. ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการของ อบต. ตามกฎหมาย และเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้างของ อบต. (มาตรา 60)
4. นายก อบต. รองนายก อบต. หรือผู้ซึ่งนายก อบต. มอบหมายมีสิทธิเข้าประชุมสภา อบต. และมีสิทธิแถลงข้อเท็จจริงตลอดจนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของตนต่อที่ประชุมแต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน (มาตรา 58/6)
5. กรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งประธานและรองประธานสภา อบต. หรือสภา อบต. ถูกยุบตามมาตรา 53 หากมีกรณีที่สำคัญและจำเป็นเร่งด่วนซึ่งปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะกระทบต่อประโยชน์สำคัญของราชการหรือราษฎร นายก อบต. จะดำเนินการไปพลางก่อนเท่าที่จำเป็นก็ได้ แต่เมื่อได้เลือกประธานสภา อบต. แล้วให้เรียกประชุมสภา อบต. เพื่อให้นายก อบต. แถลงนโยบายโดยไม่มีการลงมติภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีการเลือกตั้งประธานสภา อบต. (มาตรา 58/5 วรรคสอง)
6. กรณีนายก อบต. ปฏิบัติการที่อาจเสียหายแก่ อบต. หรือราชการ และนายอำเภอได้ชี้แจงแนะนำตักเตือนแล้วไม่ปฏิบัติตาม ในกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเร่งด่วนที่จะรอช้าไม่ได้ นายอำเภอมีอำนาจออกคำสั่งระงับการปฏิบัติราชการของนายก อบต. ไว้ตามที่เห็นสมควรได้ แล้วรีบรายงานผู้ว่าราชการจังหวัดภายใน 15 วัน เพื่อวินิจฉัยตามที่เห็นสมควรโดยเร็ว : การกระทำของนายก อบต. ที่ฝ่าฝืนคำสั่งนายอำเภอหรือผู้ว่าราชการจังหวัดดังกล่าว ไม่มีผลผูกพันกับ อบต. (มาตรา 90)
7. เป็นผู้เสนอร่างข้อบัญญัติ อบต. (มาตรา 71) ร่างข้อบัญญัติประมาณรายจ่ายประจำปี และร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม        (มาตรา 87)
8. เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ อบต. (มาตรา 65)


อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของสมาชิกสภา
สภา อบต. เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของ อบต. ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ พิจารณาให้ความเห็นชอบความเห็นชอบกิจการสำคัญของ อบต. โดยใช้มติของที่ประชุมสภา อบต. เป็นหลัก มีประธานสภา อบต. เป็นหัวหน้า

อำนาจหน้าที่ของสภา อบต. มีดังนี้
(1) ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนา อบต. เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารกิจการของ อบต.
(2) พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติ อบต. ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี และร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม   ของ อบต.
(3) ควบคุมการปฏิบัติงานของนายก อบต. ให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนา อบต. ข้อบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ

มีใครบ้างในสภา อบต. และมีหน้าที่อย่างไร ?
(1) สมาชิกสภา อบต. (จำนวนตามโครงสร้าง อบต.) มีหน้าที่ดังนี้
- เข้าร่วมประชุมสภา อบต. อภิปรายแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมสภา อบต. และลงมติในประเด็นต่างๆ
- ปฏิบัติหน้าที่ตามอำนาจหน้าที่ของสภา อบต.
- เสนอร่างข้อบัญญัติ อบต.
- ตั้งกระทู้ถามนายก อบต. หรือรองนายก อบต. อันเกี่ยวกับงานในหน้าที่
- เสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป นายก อบต. โดยไม่มีการลงมติ ด้วยจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกสภา อบต. ทั้งหมดที่มีอยู่
- ขอเปิดประชุมวิสามัญด้วยจำนวนไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภา อบต. ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
- หน้าที่อื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนด หรือฐานะผู้แทนประชาชนในหมู่บ้าน และ อบต. นั้น
(2) ประธานสภา อบต. 1 คน : เลือกจากสมาชิกสภา อบต. ให้นายอำเภอแต่งตั้งตามมติของสภา อบต. ดำรงตำแหน่งจนครบอายุสภา อบต. หรือมีการยุบสภา อบต.
ประธานสภา อบต. มีหน้าที่ดำเนินการประชุมและดำเนินการกิจการอื่นให้เป็นไปตามข้อบังคับการประชุมที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
- ดำเนินกิจการของสภา อบต. ตามที่กฎหมายกำหนด
- เป็นประธานของที่ประชุมสภา อบต. เว้นแต่ใขขณะที่เข้ากล่าวอภิปรายสนับสนุนหรือคัดค้านญัตติในที่ประชุมสภา อบต.
- บังคับบัญชาการงานใน อบต.
- รักษาความสงบเรียบร้อยในสภา อบต.
- เป็นผู้แทนสภา อบต. ในกิจการภายนอก
- อำนาจและหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือตามกฎหมาย
- กำหนดไว้ในระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น
(3) รองประธานสภา อบต. 1 คน : เลือกจากสมาชิกสภา อบต.ให้นายอำเภอแต่งตั้งตามมติของสภา อบต. ดำรงตำแหน่งจนครบอายุของสภา อบต. หรือมีการยุบสภา อบต. เช่นเดียวกับประธาน อบต.
รองประธานสภา อบต. มีหน้าที่ช่วยประธานสภา อบต. ปฏิบัติการตามหน้าที่และกระทำกิจการตามที่ประธานสภา อบต. มอบหมาย: ในกรณีไม่มีประธานสภา อบต. หรือประธานสภา อบต. ไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ ให้รองประธานสภา อบต. ปฏิบัติหน้าที่แทน
(4) เลขานุการสภา อบต. 1 คน: ซึ่งสภา อบต. เลือกจากปลัด อบต. หรือสมาชิกสภา อบต.
เลขานุการ อบต. มีหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการ และจัดการประชุมและงานอื่นใดตามที่ประธานสภา อบต. มอบหมาย และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ. 2547 ได้กำหนดให้เลขานุการสภา อบต. มีหน้าที่ดังต่อไปนี้
- แจ้งนัดประชุมสภา อบต. ตามคำสั่งของประธานสภา อบต.
- ชี้แจ้งกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่งหรือหนังสือส่งการ หรือ แนวทางปฏิบัติซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจการของ อบต. ต่อที่ประชุมสภา อบต.
- ช่วยเหลือประธานสภา อบต. จัดทำระเบียบวาระการประชุมสภา อบต.
- เชิญประธานสภาชั่วคราวปฏิบัติหน้าที่
- จัดทำรายงานการประชุมสภา อบต.
- เก็บรักษาข้อมูลข่าวสาร หรือเอกสารของสภา อบต. แต่จะเปิดเผยได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากประธานสภา อบต.
- ช่วยประธานสภา อบต. ในการควบคุมการนับคะแนนเสียง
- ช่วยเหลือประธานสภา อบต. ในการรักษาความสงบเรียบร้อยในสภา อบต.
- หน้าที่อื่นตามที่กำหนดไว้ในระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่นหรือกระทำกิจการอื่นตามที่ประธานสภา อบต. มอบหมาย

การปฏิบัติหน้าที่ของสภา อบต.
การดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของสภา อบต. จะเกิดจากการประชุมสภา อบต. และมติของที่ประชุมสภา อบต. ซึ่งในปีหนึ่งจะมีการประชุม ดังนี้
(1) สมัยประชุมสามัญสภา อบต. : ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญ 2 สมัย หรือหลายสมัยแล้วแต่สภา อบต. จะกำหนด แต่ต้องไม่เกิน 4 สมัยๆ ละ ไม่เกิน 15 วัน แต่ถ้าจะขยายเวลาออกไปอีกจะต้องได้รับอนุญาตจากนายอำเภอ โดย้องกำหนดให้มีการประชุมในเดือนกุมภาพันธ์สมัยหนึ่งและในเดือนสิงหาคมสมัยหนึ่ง
(2) สมัยประชุมวิสามัญสภา อบต. : นอกจากสมัยประชุมสามัญแล้ว เมื่อเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ของ อบต. ประธานสภา อบต. นายก อบต. หรือสมาชิกสภา อบต. มีจำนวนไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภา อบต. ทั้งหมดที่มีอยู่ สามารถทำคำร้องยื่นต่อนายอำเภอขอให้เปิดประชุมวิสามัญ ถ้าเห็นสมควรให้นายอำเภอเรียกประชุมวิสามัญได้ สมัยประชุมวิสามัญให้กำหนดไม่เกิน 15 วัน แต่ถ้าจะขยายเวลาออกไปอีกจะต้องได้รับอนุญาตจากนายอำเภอ


อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของสำนักปลัด
มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับราชการทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลและราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดในองค์การบริหารส่วนตำบล โดยเฉพาะ งานธุรการ งานสารบรรณการจัดทำทะเบียนสมาชิกสภาองค์การบริหาร ส่วนตำบลคณะกรรมการบริหารฯ งานพิมพ์ดีด งานอินเตอร์เน็ตตำบล งานการเจ้าหน้าที่ งานการประชุมงานการข้อบังคับตำบล งานนิติการ งานรัฐพิธี งานประชาสัมพันธ์ งานจัดทำแผนพัฒนาตำบลงานการจัดทำข้อบังคับงบประมาณประจำปีงานขออนุมัติ ดำเนินการตามข้อบังคับงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานส่งเสริมการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม งานนิเทศการศึกษา งานจัดการศึกษา งานทดสอบและประเมินตรวจวัดผล งานบริการและบำรุงสถานศึกษา งานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ส่งเสริมกิจการศาสนาประเพณี ศิลปวัฒนธรรม งานกิจการเด็กและเยาวชน งานกีฬาและสันทนาการ งานสวัสดิการสังคม งานพัฒนาชุมชน งานจัดระเบียบ ชุมชน งานสังคมสงเคราะห์ งานส่งเสริมอาชีพและข้อมูลแรงงาน งานพัฒนาสตรีและเยาวชน งานสนับสนุนกิจกรรมของเด็กและสตรี งานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย รวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของ ส่วนราชการในองค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทางและแผนการราชการ ของ องค์การบริหารส่วนตำบล แบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น ๙ งาน คือ

งานบริหารทั่วไป
มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ งานธุรการ สารบรรณ การจัดทำทะเบียนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล คณะกรรมการบริหารฯ งานทะเบียนยานพาหนะ งานพิมพ์ดีด งานการ เจ้าหน้าที่ งานการประชุม งานรัฐพิธี งานกิจการสภา อบต. งานเลือกตั้ง งานตรวจสอบภายใน งานควบคุมและ ส่งเสริมการท่องเที่ยว งานรักษาความปลอดภัยและความสะอาดสำนักงาน และงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

งานนโยบายและแผน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ งานวิชาการ งานนโยบายของ องค์การบริหารส่วนตำบล งานจัดทำแผนพัฒนาตำบล ๓ ปี และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล ๕ ปี งานการข้อบังคับตำบลด้านงบประมาณ งานสารสนเทศระบบ คอมพิวเตอร์ และ งานอินเตอร์เน็ตตำบล งานรวบรวมข้อมูลและสถิติทางเทคนิคและวิชาการทุกประเภท งานประชาสัมพันธ์

งานกฎหมายและคดี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ งานกฎหมายและนิติกรรม งานการดำเนินการทางคดีขององค์การบริหารส่วนตำบล งานศาลปกครอง งานร้องเรียน ร้องทุกข์และอุทธรณ์ งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานช่วยเหลือฟื้นฟู งานกู้ภัย

งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ งานอำนวยการ งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานช่วยเหลือฟื้นฟู งานกู้ภัย

งานส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
มีหน้าที่รับผิดชอบ งานบริหารวิชาการศึกษา งานเทคโนโลยีทางการศึกษา งานจัดการศึกษา งานทดสอบและ ประเมินตรวจวัดผล งานบริการและบำรุงสถานศึกษา งานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ส่งเสริมกิจการศาสนา งานส่งเสริมประเพณี ศิลปวัฒนธรรม งาน กิจการเด็กและเยาวชน งานกีฬาและสันทนาการ

งานสวัสดิการและพัฒนาชุมชน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ งานสวัสดิการสังคม งานพัฒนาชุมชน งานจัดระเบียบชุมชน งานสังคมสงเคราะห์ งานพิทักษ์สิทธิเด็กและสตรี งานส่งเสริมอาชีพและข้อมูลแรงงาน งานพัฒนาสตรีและเยาวชน งานสนับสนุนกิจกรรมของเด็กและสตรี

งานธุรการและการเจ้าหน้าที่
มีหน้าที่รับผิดชอบกับงานสารบรรณของเทศบาลการประชุมพนักงาน ลูกจ้างและพนักงานจ้างเทศบาล การขอพระราชทานเครื่องราชดิสริยาภรณ์เหรียญจักรพรรดิมาลา การเตรียมการเลือกตั้ง การจัดทำคำสั่งและประกาศต่าง ๆ การแจ้งมติและคำสั่งต่าง ๆ การบริหารงานบุคคล การบรรจุแต่งตั้ง โอนย้าย และการเลื่อนระดับ การสอบแข่งขันสอบคัดเลือกและการคัดเลือกการจัดทำทะเบียนประวัติและบัตรประวัติของบุคลากร การพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพของบุคลากร การประเมินผลการปฏิบัติงาน การขออนุมัติปรับปรุงตำแหน่งและอัตรากำลัง การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน การให้บำเหน็จความชอบ งานสวัสดิการพนักงาน/ลูกจ้าง การลาทุกประเภท และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

งานทะเบียนราษฎรและบัตร
มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการให้บริการด้านการขอเลขหมายประจำบ้าน การแจ้งรื้อ-ถอนบ้าน การรับแจ้งย้ายเข้า ย้ายออก และแจ้งย้ายปลายทาง รับแจ้งเกิด-การตาย การเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน การแก้ไขรายการทะเบียนราษฎร งานการเลือกตั้งการลงประชามติ และงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

งานแผนและงบประมาณ
มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวิเคราะห์นโยบายและแผน ซึ่งมีลักษณะเพื่อประกอบการกำหนดนโยบายจัดทำแผนหรือโครงการ ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน ตามแผนและโครงการต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็นนโยบายแผนงานของเทศบาลและโครงการระดับชาติ ระดับกระทรวง ระดับกรม หรือระดับจังหวัด แล้วแต่กรณี งานการจัดทำงบประมาณงานประชาสัมพันธ์ งานเลขานุการ การประชุมสภาเทศบาล งานิติการ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง



อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของกองคลัง
มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ การเงิน การเบิกจ่ายการฝากเงินการเก็บรักษาเงินการตรวจเงินการหักภาษี เงินได้และนำส่งภาษี การตัดโอนเงินเดือนรวบรวมสถิติเงิน ได้ประเภทต่าง ๆ การรายงานเงินคงเหลือประจำวัน งานขอ อนุมัติเบิกเงินตัดปีและขอขยายเวลาเบิกจ่าย งาน จัดทำงบและแสดงฐานะทางการเงิน งบทรัพย์สิน หนี้สิน งบโครงการเงิน สะสมงานจัดทำบัญชีทุกประเภทงานทะเบียนคุมเงินรายได้-รายจ่าย งานจัดเก็บรายได้และพัฒนารายได้ การจัดหาผล ประโยชน์ จากสิ่งก่อสร้างและทรัพย์สิน งานจัดทำ/ตรวจสอบบัญชีและการรับเงินในกิจการประปา งานจัดเก็บขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล รวมถึงงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมายโดยแบ่งส่วนราชการภายใน ออกเป็น 4 งาน คือ
งานการเงิน
มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับ การเงิน การเบิกจ่าย การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน การตรวจเงิน งานจัดทำฎีกาเบิกจ่ายเงิน การหักภาษีเงินได้และนำส่งภาษี การตัดโอนเงินเดือน งานเก็บรักษาเงิน งานขออนุมัติเบิกเงินตัดปี และขอขยายเวลาเบิกจ่าย รายงานเงิน คงเหลือประจำวัน
งานบัญชี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ งานจัดทำบัญชีทุกประเภท งานทะเบียนคุมเงินรายได้-รายจ่าย รวบรวมสถิติเงินได้ ประเภทต่าง ๆ งานจัดทำงบและแสดงฐานะการเงิน งบทรัพย์สิน หนี้สิน งบโครงการเงินสะสม
งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ งานจัดเก็บรายได้และพัฒนารายได้ งานภาษีอากร ค่าธรรมเนียมการจัดหา ผลประโยชน์จากสิ่งก่อสร้างและทรัพย์สิน งานจัดทำ/ตรวจสอบบัญชี และการรับเงินในกิจการประปา และงานจัดเก็บขยะมูล ฝอยและสิ่งปฏิกูล งานควบคุม กิจการค้าและค่าปรับ งานทะเบียนควบคุมและเร่งรัดรายได้
งานทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ งานทะเบียนทรัพย์สินและแผนที่ภาษี งานพัสดุ งานขออนุมัติจัดซื้อจัดจ้าง งานทะเบียนเบิกจ่าย วัสดุครุภัณฑ์และยานพาหนะ
กระบวนการ ขั้นตอน และวิธีปฏิบัติในการให้บริการประชาชนของกองคลัง
กำหนดการยื่นแบบชำระภาษี
1. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ยื่นแบบระหว่าง วันที่ 2 มกราคม 2551 ถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551
2. ภาษีป้าย ยื่นแบบระหว่าง วันที่ 2 มกราคม 2551 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2551
3. ภาษีบำรุงท้องที่ (ภาษีที่ดิน) ระหว่าง วันที่ 2 มกราคม 2551 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2551


การจัดเก็บภาษีป้าย
ขั้นตอนการให้บริการ
1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) พร้อมเอกสารประกอบ
2. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร
3. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายชำระเงินและรับใบเสร็จรับเงิน (ภ.ป.7)
เอกสารประกอบการพิจารณา
1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาบัตรประชาชน
2. ใบเสร็จรับเงินค่าภาษีป้ายปีที่ผ่านมา (ภ.ป.7)
3. เอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับป้าย
4. ขนาดของป้าย
5. สำเนาทะเบียนบ้าน
6. สำเนาโฉนดที่ดิน


การจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่
ขั้นตอนการให้บริการ
1. ผู้เป็นเจ้าของที่ดินยื่นแบบ แสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5)
2. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร
3. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ชำระเงินและรับใบเสร็จรับเงินค่าภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท.11)
เอกสารประกอบการพิจารณา
1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาบัตรประชาชน
2. ใบเสร็จรับเงินค่าภาษีบำรุงที่ดินที่ผ่านมา (ภ.บ.ท.11)
3. สำเนาทะเบียนบ้าน
4. สำเนาโฉนดที่ดิน


การจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ขั้นตอนการให้บริการ
1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินยื่นแบบแสดงรายการ เสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด.12)
2. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร
3. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือน และที่ดินชำระเงิน และรับใบเสร็จรับเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน
(ภ.ร.ด.12)
เอกสารประกอบการพิจารณา
1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาบัตรประชาชน
2. ใบเสร็จรับเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินปีที่ผ่านมา (ภ.ร.ด.12)
3. สำเนาสัญญาเช่าต่างๆ (ในกรณีการเช่า , ให้เช่าบ้าน , เช่าที่ดิน)
4. สำเนาทะเบียนพาณิชย์ (กรณีประกอบการค้า) สำเนาการจดทะเบียนนิติบุคคล
5. สำเนาทะเบียนบ้าน
6. สำเนาโฉนดที่ดิน

การชำระค่าขยะมูลฝอย / ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ
ขั้นตอนการให้บริการ
- ผู้มีหน้าที่ชำระค่าขยะมูลฝอย / ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ติดต่อเจ้าหน้าที่
เอกสารประกอบการพิจารณา
- แจ้งที่อยู่ / เอกสารที่เกี่ยวข้อง




อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของกองช่าง
มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ งานสำรวจ ออกแบบ เขียนแบบ ถนน อาคาร สะพาน แหล่งน้ำ ฯลฯ งานการประมาณการค่าใช้จ่ายตามโครงการ งานควบคุมอาคาร งานก่อสร้าง งานผังเมือง งานซ่อมบำรุงทาง อาคาร สะพาน แหล่งน้ำ งานควบคุมการก่อสร้าง งานซ่อมบำรุงในกิจการประปา จัดทำทะเบียนสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในความรับผิดชอบของ อบต. รวมถึงงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย โดยแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 3 งาน คือ


งานก่อสร้าง
มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับ งานก่อสร้างและบูรณะถนน งานก่อสร้างและบูรณะสภาพและ โครงการพิเศษ งานระบบข้อมูลและแผนที่เส้นทางคมนาคม งานบำรุงรักษาเครื่องจักรและยานพาหนะ
งานออกแบบควบคุมอาคารและผังเมือง
มีหน้าที่และความรับผิดชอบ งานสถาปัตยกรรมและมัณฑนศิลป์ งานวิศวกรรม งานการประมาณการค่าใช้จ่าย โครงการ งานควบคุมการก่อสร้างอาคารงานบริการข้อมูลและหลักเกณฑ์ งานสำรวจและแผนที่ งานวางผังพัฒนาเมือง งานควบคุมทางผังเมือง งานจัดรูปที่ดินและฟื้นฟูเมือง
งานประสานสาธารณูปโภค
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ งานประสานสาธารณูปโภคและกิจการประปา งานขนส่งและวิศวกรรมจราจร งานระบายน้ำ งานจัดตำแต่งสถานที่
กระบวนการ ขั้นตอน และวิธีปฏิบัติในการให้บริการประชาชนของส่วนโยธา
การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร
ขั้นตอนการให้บริการ
1. ผู้ขออนุญาตยื่นคำร้องขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ตามแบบคำขอ อนุญาตก่อสร้างอาคาร รื้อถอน
ดัดแปลง (แบบ ข.1) พร้อมเอกสาร
2. นายตรวจ ตรวจสอบเอกสารเบื้องต้น / ตรวจสอบผังเมือง และตรวจสอบสภาพสาธารณะ
3. นายช่าง / วิศวกรตรวจพิจารณาแบบ
4. เจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณา คำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร
เอกสารประกอบการพิจารณา
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาต
2. สำเนาโฉนดที่ดินขนาดเท่าต้นฉบับทุกหน้า พร้อมเจ้าของที่ดินลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า (กรณีผู้ขอ
ไม่ใช่เจ้าของต้องมีหนังสือยินยอมของเจ้าของที่ดินให้ก่อสร้าง อาคารในที่ดินหรือสำเนาสัญญาเช่าที่ดิน)
3. หนังสือยินยอมชิดเขตที่ดินต่างเจ้าของ
4. หนังสือรับรองของผู้ประกอบการวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของผู้ออกแบบและคำนวณโครงสร้างอาคาร
5. หนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมของผู้ออกแบบงานสถาปัตยกรรม
6. แผนผังบริเวณแบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลน พร้อมรายการคำนวณโครงสร้าง
7. รายการคำนวณระบบบำบัดน้ำเสีย (กรณีอาคารต้องมีระบบบำบัดน้ำเสีย)
การขออนุญาตรื้อถอนอาคาร
ขั้นตอนการให้บริการ
1. ผู้ขออนุญาตยื่นคำขออนุญาตรื้อถอนอาคารตามแบบคำขอ อนุญาตก่อสร้าง รื้อถอนดัดแปลง
(แบบ ข.1) พร้อมเอกสาร
2. นายตรวจ ตรวจสอบเอกสารเบื้องต้น / ตรวจสอบผังเมือง และตรวจสอบสภาพสาธารณะ
3. นายช่าง / วิศวกรตรวจพิจารณาแบบ
4. เจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณา คำขออนุญาตรื้อถอนอาคาร
เอกสารประกอบการพิจารณา
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาต
2. สำเนาโฉนดที่ดินแปลงที่ตั้งของอาคารที่ขออนุญาตรื้อถอน ขนาดเท่าต้นฉบับทุกหน้า
3. หนังสือรับรองของผู้ประกอบการวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของผู้ออกแบบ ขั้นตอนวิธีการ และป้องกันวัสดุร่วงหล่นในการรื้อถอนอาคาร (กรณีที่เป็นอาคารมีลักษณะ ขนาด อยู่ในประเภทเป็นวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม)
4. หนังสือแสดงความยินยอมของวิศวกรผู้ควบคุมงาน (แบบ น.4)
5. แผนผังบริเวณ แบบแปลน และรายการประกอบแบบแปลน
การขออนุญาตดัดแปลงอาคาร
ขั้นตอนการให้บริการ
1. ผู้ขออนุญาตยื่นคำขออนุญาตดัดแปลงอาคาร ตามแบบคำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร รื้อถอน ดัดแปลง (แบบ ข.1) พร้อมเอกสารประกอบ
2. นายตรวจ ตรวจสอบเอกสารเบื้องต้น / ตรวจสถานที่ / ตรวจสอบผังเมืองและตรวจสอบสภาพสาธารณะ
3. นายช่าง / วิศวกรตรวจพิจารณาแบบ
4. เจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณาคำขออนุญาตดัดแปลงอาคาร
เอกสารประกอบการพิจารณา
1. สำเนาบัตรประจำตัวเอกสารเหมือนประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาตดัดแปลงอาคาร
2. สำเนาโฉนดที่ดินขนาดเท่าต้นฉบับทุกหน้า พร้อมเจ้าของที่ดินลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า (กรณีผู้ขอไม่ใช่เจ้าของต้องมีหนังสือยินยอมของเจ้าของที่ดินให้ก่อสร้างอาคารในที่ดินหรือสำเนา สัญญาเช่าที่ดิน)
3. หนังสือยินยอมชิดเขตที่ดินต่างเจ้าของ
4. หนังสือรับรองของผู้ประกอบการวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของผู้ออกแบบและคำนวณโครงสร้างอาคาร
5. หนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมของผู้ออกแบบงานสถาปัตยกรรม
6. แผนผังบริเวณแบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลน พร้อมรายการคำนวณโครงสร้าง
7. รายการคำนวณระบบบำบัดน้ำเสีย (กรณีอาคารต้องมีระบบบำบัดน้ำเสีย)
8. ใบอนุญาตก่อสร้างอาคารเดิมที่ได้รับอนุญาต
9. กรณีต่อเติมเพิ่มชั้นอาคาร (วิศวกรผู้ออกแบบโครงสร้างอาคารมิใช่คนเดิม) ต้องมีหนังสือรับรองความมั่นคงของอาคารเดิมจากสถาบันที่เชื่อถือได้
การขออนุญาตขุดดิน / ถมดิน
ขั้นตอนการให้บริการ
1. ผู้ขออนุญาตยื่นคำขออนุญาตขุดดิน / ถมดิน พร้อมเอกสาร
2. นายตรวจ ตรวจสอบเอกสารเบื้องต้น / ตรวจสอบผังเมือง และตรวจสภาพสาธารณะ
3. นายช่าง / วิศวกรตรวจแบบพิจารณาแบบ
4. เจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณาคำขออนุญาตขุดดิน / ถมดิน
เอกสารประกอบการพิจารณา
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาต
2. สำเนาโฉนดที่ดินขนาดเท่าต้นฉบับทุกหน้า พร้อมเจ้าของที่ดินลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า (กรณีผู้ขอไม่ใช่เจ้าของต้องมีหนังสือยินยอมของเจ้าของที่ดินให้ก่อสร้างอาคารในที่ดินหรือสำเนาหนังสือสัญญาเช่าที่ดิน)
3. หนังสือยินยอมชิดเขตที่ดินต่างเจ้าของ
4. แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
5. แผนผังแสดงเขตที่ดินและที่ดินบริเวณข้างเคียง
6. รายการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 6 พ.ร.บ. ขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543
7. วิธีการขุดดินและถมดิน
8. ระยะเวลาทำการขุดดิน
9. ชื่อผู้ควบคุมซึ่งจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
10. ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
11. ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
12. เอกสารและรายละเอียดอื่น ๆ ที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา


Phai Lom 

ที่อยู่: 201 หมู่2 ตำบลไผ่ล้อม อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ 53210
เบอร์โทร:   0-5581-4179  Fax : 0-5581-4179 
ที่อยู่จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
: saraban@phailom-utt.go.th E-mail :phailom_uttaradit@hotmail.com

www.phailom-utt.go.th